A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Only variable references should be returned by reference

Filename: core/Common.php

Line Number: 257

ต้มสมุนไพรจีนอย่างไรให้ถูกวิธี - Hanji Herb แสงธรรมโอสถ

ติดตามข่าวสารและกิจกรรมของ Hanji ได้ทาง Facebook Fanpage โทรศัพท์: 02 462 0843 ดูเส้นทาง

ยาสมุนไพรจีน Hanji

ต้มสมุนไพรจีนอย่างไรให้ถูกวิธี

หน้าหลัก » เกร็ดความรู้ยาสมุนไพรจีน » การใช้สมุนไพรจีน » ต้มสมุนไพรจีนอย่างไรให้ถูกวิธี

ต้มสมุนไพรจีนอย่างไรให้ถูกวิธี

การต้ม (Decotion) คือ วิธีการทั่วไปในการสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรจีน ในบทความนี้ เราจะแนะนำวิธีการต้มสมุนไพรให้ออกมาได้ประโยชน์สูงสุดกันนะครับ

การต้มสมุนไพร  ควรใช้ภาชนะที่ไม่ทำปฏิกริยากับสมุนไพร  เช่น  กระเบื้องเคลือบ , หม้อเคลือบ  หรือหม้อสแตนเลส ซึ่งในปัจจุบันมีหม้อต้มไฟฟ้าที่ผลิตจากกระเบื้องเคลือบ หรือสแตนเลส หลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้งานตามความสะดวก

มีขั้นตอนหรือหลักเกณฑ์ง่ายในการต้มสมุนไพรจีน ดังนี้:

  1. เติมน้ำสะอาดให้ท่วมยา  สักประมาณ 1 – 2 นิ้ว แช่ยาไว้สัก  20 – 30 นาที ( เพื่อให้สมุนไพรดูดซับน้ำก่อน)
  2. กรณีต้มด้วยเตาแก๊ส  -  ต้มจนเดือดแล้วหรี่ไฟอ่อนๆ  ต้มต่ออีก  20 – 40 นาที  แล้วแต่ชนิดของสมุนไพร
    ส่วนหม้อต้มไฟฟ้า   -  ก็กดปุ่มต้มตามวิธีของหม้อต้มชนิดนั้นๆ  พอถึงเวลาไฟก็จะตัดเอง
  3. เมื่อได้น้ำยาสมุนไพรแล้ว  เทใส่ภาชนะพักไว้สักครู่

ยาสมุนไพร 1 ชุด สามารถต้มได้ 2-3 เที่ยว  แล้วเทน้ำยารวมกัน  แบ่งรับประทานได้ 2 เวลา

ข้อแนะนำในการต้มสมุนไพรจีน

สมุนไพรบางอย่างควรต้มก่อน  เช่น  แร่ , เปลือกหอย , กระดองเต่า  เนื่องจากยาเหล่านี้อัดแน่น  และแข็ง  การสกัดยาค่อนข้างยาก  ยาเหล่านี้ควรต้มก่อน  15 นาที  แล้วจึงต้มสมุนไพรที่เหลือต่อไป

สมุนไพรบางอย่างควรต้มภายหลังสมุนไพรอื่นๆ ได้แก่ สมุนไพรกลิ่นหอมระเหย ซึ่งสารสำคัญระเหยง่าย และสูญเสียง่าย ดังนั้นสมุนไพรเหล่านี้ควรใส่หลังจากต้มยาอื่นๆจนเดือดแล้ว 5 – 15 นาที แล้วต้มต่ออีก 5 นาที ตัวอย่างสมุนไพรเหล่านี้ได้แก่ ปอห่อ (Bohe) ซัวยิ้ง (Sharen) และตั่วอึ้ง (Dahuang)

สมุนไพรหลายๆชนิดควรใส่ถุงผ้า โดยเฉพาะยาที่เป็นผง ลักษณะเบา ปกคลุมด้วยขนอ่อนนุ่ม หรือเป็นเมือกเหนียว

สมุนไพรบางอย่างควรต้มแยก โดยเฉพาะสมุนไพรมีราคาสูง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้ปริมาณน้อย เช่น โสม (Renshen) , เขากวางอ่อน (Lurong) , ตังฉั่งแห่เช่า (Dongchong Xiacao) เมื่อได้สารสกัดแล้วสามารถแยกดื่ม หรือรวมกับน้ำยาสมุนไพรที่ต้มแล้วได้

สมุนไพรบางอย่างควรจะบดเป็นผงก่อน แล้วจึงผสมน้ำดื่ม เนื่องจากสมุนไพรเหล่านี้ไม่เหมาะที่จะนำไปต้ม เช่น ซาชิก (Sanqi)

สมุนไพรบางชนิดควรละลายน้ำร้อนหรือละลายยาร้อน แล้วจึงดื่ม เช่น อากา (Ejiao)

blog comments powered by Disqus